มาทำความรู้จัก “จาก” กันให้มากขึ้น
- แทงปากกบ หรือล่อปากกบ มีลักษณะแบนแนบติดกับลำต้นของจาก ปลายบนมีลักษณะโค้งมนและมีขอบสีเขียวอมเหลือง
- แทงนก มีลักษณะเป็นแท่งกลม ๆ ปลายแหลม โผล่ออกมาจากปากกบ
- เข้าโม่ง มีลักษณะเป็นแท่งกลม เรียวยาว ส่วนปลายจะมีลักษณะเป็นทรงกลมมีกาบหุ้มไว้ สีของโม่งจะมีลักษณะสีส้มอมเขียว
- แหย่งเขี้ยวหมา มีลักษณะเป็นแท่งกลม เรียวยาว จาก 1 กอ สามารถมีแหล่งเขี้ยวหมาได้มากกว่า 1 อัน กาบที่อยู่ตรงส่วนปลายของงวงจากจะเปิดออกพร้อมกับมีลูกจากขนาดเล็กหลาย ๆ ลูกรวมกันเป็นทะลายจาก และมีเกสรตัวผู้อยู่บริเวณรอบ ๆ ทะลายลูกจาก
- ลูกอ่อน หรือลูกซามเหนาะ ส่วนหัวของลูกจากมีขนาดเล็ก แบน สีขาวอ่อน ๆ ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ในการกินคู่เป็นผักเคียง หรือ ผักเหนาะ ส่วนกลางมีลักษณะกลม และส่วนปลายมีลักษณะแหลม
- ลูกซามแกง จะมีลักษณะของทะลายใหญ่ ส่วนหัวของลูกจากเป็นสีขาวและเป็นส่วนที่นำมาใช้ในการประกอบอาหาร เช่น แกงส้ม แกงกะทิ หรือนำมาถนอมอาหารด้วยการดอง
- ลูกหัวเสี้ยน สีผิวของลูกจากมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้ม เนื้อข้างในจะเริ่มแข็งและมีเส้นใย
- ลูกซามกิน เป็นช่วงที่เหมาะสำหรับการรับประทานเนื้อลูกจาก เนื้อจะนิ่มและไม่แข็งมาก สามารถนำไปทำเป็นขนมหวาน เช่น ลูกจากเชื่อม ลูกจากลอยแก้ว
- ลูกตาค่าง มีลักษณะของผิวภายนอกหยาบ และมีสีน้ำตาลเข้ม เนื้อด้านในแข็ง เปลือกหนา มีเส้นใย ไม่นิยมนำมารับประทานหรือทำอาหาร
- ลูกร่วง เมื่อลูกจากมีอายุโดยประมาณ 10 เดือน ลูกจากจะทยอยร่วงออกจากทะลายจากจนหมด และทะลายจะแห้งและเหี่ยวไปตามธรรมชาติ
- ออกหน่อ ลูกที่ร่วง หลุดออกจากทะลายจาก จะร่วงลงน้ำและแตกหน่อ สามารถนำไปขยายพันธุ์ได้